HALCALI - Tip Taps Tip

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 7/04/2552

“9 สเต็ป” ควรจำสู่ระดับ Beginner ตอนที่ 1: สนามรบบนหน้ากระดาษ!!

การทำงานกับโปรแกรม Manga Studio ตามแบบฉบับพื้นฐานของผมจะแบ่งออกเป็น 9 สเต็ปด้วยกัน เพื่อนๆ หลายคนอ่านดูแล้วคงชักรู้สึกหนาวๆ ร้อนๆ ว่าทำไมกับอีแค่ระดับพื้นฐานมันยังปาเข้าไปตั้ง 9 ขั้นเลยละเนี่ย ไม่เยอะเกินไปเหรอไง (ฟะ)...

อันนี้ก็คงต้องลองติดตามดูครับว่าจะหืดขึ้นคอกันจริงมั้ย? แต่ที่แน่ๆ รับรองได้ว่าหลังจากอ่านครบจบทั้ง 9 สเต็ป แม้จะไม่เคยแตะโปรแกรมนี้มาก่อนก็สามารถนำไปใช้สร้างสรรค์งานการ์ตูนของตัว เองกันได้ชัวร์ 100 เปอร์เซนต์ (ถ้าไม่ได้ละก็ งานนี้อย่ามาดักตีหัวผมนะคร๊าบ...)

แรกเริ่มในการทำงานทุกครั้ง ก่อนอื่นเราก็ต้องเริ่มต้นสร้างหน้ากระดาษสำหรับวาดรูปกันก่อน (ไม่สร้างแล้วจะไปวาดกันตรงไหนล่ะ - -) ตรงนี้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องธรรมดาๆ ไม่มีอะไรเด่นเป็นพิเศษ แต่สำหรับ Manga Studio นั้นต่างออกไปเล็กน้อยเพราะเราจะมีตัวเลือกสำหรับสร้างอยู่ 2 วิธี

อย่างแรกคือสร้างหน้ากระดาษเปล่าทั่วไป โดยไปที่เมนู File-> New-> Page (หรือจะกด Ctrl+N ก็ได้) ส่วนอีกแบบคือการเลือกสร้างแบบโครงงานที่สามารถกำหนดค่าต่างๆ ได้มากมายตั้งแต่ชื่อโปรเจ็ค จำนวนหน้ากระดาษ รูปแบบการเปิดจากขวาไปซ้าย (แบบสไตล์ญี่ปุ่น) หรือซ้ายไปขวา (แบบสากลนิยม) และอื่นๆ อีกสารพัก โดยเลือกสร้างได้จาก File-> New-> Story แต่สำหรับการสร้างงานด้วยคำสั่ง Story นี้ผมขอยกไปอธิบายในคราวหลังครับ เพราะมันค่อนข้างจะแอดวานซ์ไปสักหน่อยสำหรับการทำงานเบื้องต้น


ดังนั้นในสเต็ปแรกนี้เรามาลองสร้างหน้ากระดาษเปล่าแบบพื้นฐานกันดูก่อนครับ โดยไปที่เมนู File-> New-> Page จะมีหน้าต่าง New Page เปิดออกมาให้เราปรับแต่งค่าต่างๆ ดังในภาพตัวอย่าง

หน้าต่าง New Page


จะเห็นว่าที่หน้าต่างนี้มีแท็ปย่อยอยู่ 2 แท็ป คือ Custom Page กับ Page Templates

- Custom Page คือส่วนที่เราสามารถปรับแต่งค่าหน้ากระดาษได้ตามต้องการโดยแบ่งออกเป็น 6 ส่วนย่อยๆ ดังนี้

1. Basic Info เราจะสามารถตั้งค่า Resolution ซึ่งก็คือความคมชัดหรือค่า dpi ได้ ค่ามาตรฐานของมันก็คือ 600 dpi จะปรับให้มากขึ้นหรือน้อยลงก็ได้ เพียงแต่ต้องจำไว้ว่าค่านี้มีผลอย่างมากกับคุณภาพของลายเส้นและขนาดของรูป ยิ่งปรับมากก็จะยิ่งคมชัดและขนาดไฟล์ภาพจะใหญ่ขึ้น

ผลที่ตามมาคือความละเอียดของภาพสูงแต่อาจทำให้เครื่องหน่วงได้ถ้า CPU ผอมแห้งแรงน้อย ส่วน Basic Color Model คือโหมดสีที่ต้องการใช้ในงานวาด ถ้าต้องการวาดการ์ตูนขาวดำธรรมดาก็เลือกเป็น Monochrome ไปเลยจะเหมาะกว่า (สำหรับบทความนี้จะอิงการทำงานในโหมด Monochrome นะขอรับ) ส่วนใครอยากทำการ์ตูน 4 สีละก็ให้เลือกเป็น Color แทน แต่สำหรับผม ถ้าจะทำการ์ตูน 4 สีละก็ ไว้ค่อยยกไปทำในโปรแกรมอื่นจะสะดวกกว่าเยอะ แล้วแต่ความถนัดละครับ


2. Page Size ตรงนี้คงไม่ต้องอธิบายอะไรมาก แค่ใช้ปรับความกว้าง ยาว และหน่วยวัดตามมาตราต่างๆ เช่น นิ้ว เซนต์ หรือแบบพิกเซล และถ้าไม่อยากยุ่งยากภายหลังก็สามารถกำหนดขนาดกระดาษไซส์มาตรฐานอย่าง A4, A3 หรือแบบโปสการ์ดได้ตามต้องการ

3. Inside Dimensions ปกติแล้วค่ามาตรฐานโปรแกรมจะติ๊กถูกเปิดการแสดงผลของมันไว้เป็นแถบเส้นสี น้ำเงินโปร่งใสเพื่อให้เราสามารถกะระยะตัดตกของภาพและขอบกระดาษได้อย่างแม่น ยำ

4. Basic Frame เป็นส่วนที่เราจะใช้กำหนดขอบเขตของพื้นที่วาดส่วนด้านในของกระดาษว่าต้องการ เนื้อที่วาดภาพขนาดเท่าใด โดยจะแสดงเส้นขอบไกด์ไลน์ด้วยสีน้ำเงินโปร่งใสเช่นเดียวกัน แนะนำว่าในเบื้องต้นนี้ให้เรายึดเอาค่าดีฟอลต์ของโปรแกรมไว้ก่อนจะสะดวกมาก ที่สุด

5. Bleed Width เป็นการกำหนดค่าระยะความกว้างของเส้นขอบกระดาษ อันนี้ก็ยังไม่ควรไปยุ่งอะไรกับมันตอนนี้ครับ

6. Page Settings ส่วนสำคัญที่ใช้เลือกสร้างหน้ากระดาษ สามารถเลือกได้ว่าต้องการสร้างแค่หน้าเดียว (Single) หรือเลือกสร้างแบบหน้าคู่ (Double) ซึ่งมีประโยชน์มากทีเดียวสำหรับเวลาที่ต้องวาดฉากใหญ่อลังการหรือภาพที่ต่อ เนื่องกันการเลือกวาดแบบหน้าคู่จะช่วยประหยัดเวลาได้มาก (แต่ก็ต้องระวังสับสนเรื่องลำดับของหน้าไว้ด้วยเหมือนกันนะ)

เมื่อปรับแต่งจนพอใจแล้ว กดปุ่ม OK ก็จะได้หน้ากระดาษจริงสำหรับใช้งานมาอยู่ในกำมือแล้ว แต่สำหรับคนที่ไม่อยากปวดหัวกับการเซ็ตค่าจิปาถะทั้งหลายแหล่หรือยังไม่สัน ทัดเรื่องไซส์กระดาษนักละก็ ให้ลองคลิ้กเลือกแท็ป Page Templates แทน


แท็ป Page Templates


- Page Templates การเลือกรูปแบบไซส์กระดาษพื้นฐานจากเท็มเพลตที่มีมาให้มากมายนี้น่าจะช่วยลด ความวุ่นวายลงไปได้มากสำหรับนักวาดมือใหม่ บนแท็ปนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน

ส่วนแรกด้านซ้ายมือจะเป็นไดเร็กทอรี่เก็บเท็มเพลตรูปแบบต่างๆ ส่วนกลางจะเป็นรายละเอียดของไซส์กระดาษแต่ละรูปแบบ หากต้องการเท็มเพลตแบบใดให้คลิ้กเลือกที่ไฟล์นั้นๆ (สามารถปรับแต่งค่ามันได้ด้วยการคลิ้กขวาที่ตัวไฟล์เลือก Paper Settings) และดูการแสดงผลกับรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ได้จากหน้า Preview ที่ส่วนขวามือ

นอกจากนี้ยังมี Page Settings ให้ปรับเป็นหน้าเดี่ยวหรือคู่เหมือนอย่างใน Custom Page ด้วย เมื่อเลือกเท็มเพลตที่ถูกใจได้แล้วค่อยกดปุ่ม OK ที่ด้านล่างขวาของหน้าต่าง เท่านี้ก็เรียบร้อยครับ


เป็นยังไงกันบ้างครับกับ “สเต็ปแรก” หรือก้าวแรกกับการเซ็ตค่าหน้ากระดาษวาดการ์ตูน เมื่อเราได้พื้นที่ทำงานกันเรียบร้อยแล้วในบทความครั้งต่อไปเราจะมาลองลง เส้นสเก็ตซ์ภาพกันดูบ้างละ น่าสนุกแล้วใช่มั้ยเอ่ย อิอิ

0 Comments On "“9 สเต็ป” ควรจำสู่ระดับ Beginner ตอนที่ 1: สนามรบบนหน้ากระดาษ!!"

Step CG Group Head

ภาพถ่ายของฉัน
Neki Bazara
การรวมตัวของนักวาดกลุ่มเล็กๆ ที่รักงาน CG โดยเฉพา่ะ "การ์ตูน" สำหรับเพื่อนๆ ทุกคนที่ชื่นชอบในการวาด เพื่อใช้เป็นแนวทางฝึกฝนทักษะแลกเปลี่ยนแนวความคิดและเทคนิคต่างๆ
ดูโปรไฟล์ทั้งหมดของฉัน

Chat Box

CG Step Fanclub